วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของ Fiedler


               Fiedler (1976 cited in Hoy and Miskel, 2001) เป็นผู้ศึกษาความเกี่ยวข้องของสถานการณ์กับภาวะผู้นำและได้นำเสนอรูปแบบผู้นำตามสถานการณ์ (Contingency Model Leadership) แนวคิดของ Fiedler นั้นแตกต่างจากแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ผ่านๆ มา โดยพิจารณาว่าผู้นำต้องมุ่งให้ความต้องการส่วนบุคคลได้รับ      การตอบสนอง และมุ่งให้องค์การได้บรรลุเป้าหมายด้วย ซึ่ง Fiedler ได้กำหนดหลักการพื้นฐานของทฤษฎีไว้                             
              1. แบบภาวะผู้นำ (Leadership Style) ฟีดเลอร์ (Fiedler.  1967) ได้จำแนกให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำ (Leadership Behavior) และแบบภาวะผู้นำ (Leadership Style) ว่าพฤติกรรมภาวะผู้นำเป็นการกระทำของผู้นำในการชี้นำและประสานงานในการทำงานของสมาชิกในองค์การ ส่วนแบบภาวะผู้นำจะเป็นโครงสร้างความต้องการของผู้นำที่จะจูงใจให้เกิดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะไม่ได้เป็นเรื่องของพฤติกรรมโดยตรง แบบภาวะผู้นำจึงเป็นคุณลักษณะของผู้นำ (personality Characteristic)
                    2. สถานการณ์ที่เอื้อต่อผู้นำ (Situation  Favorableness) หลังจาก Fiedler ได้จำแนกผู้นำตามคะแนนของ LPC ซึ่งจะได้แบบของผู้นำ 2 ประเภท ตามที่ได้กล่าวแล้ว และโดยหลักการพื้นฐานของทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์นั้น พบว่าในบางสถานการณ์ผู้นำที่มีคะแนน LPC สูง จะมีประสิทธิผลมากกว่า และในบางสถานการณ์ การเป็นผู้นำที่มี LPC ต่ำก็จะเกิดประโยชน์มากที่สุด Fiedler (cited in Lunenburg and Ornstein,2000) ได้สรุปว่าความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับประสิทธิผลนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลากหลายในสถานการณ์และได้ระบุองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก โครงสร้างภารกิจและการใช้อำนาจในตำแหน่งผู้นำ
The Ohio state studies


 การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
                จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ พฤติกรรมมุ่งคน (
consideration) และ พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
                พฤติกรรมมุ่งคน
คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง
 เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
   ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม  ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่
·         การรับฟังความเห็นของพนักงาน                   การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน·         บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า                สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน·         ปรึกษาหารือกับพนักงาน                                  ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน·         เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน            เป็นมิตรกับพนักงาน

                พฤติกรรมมุ่งงาน   คือ  พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิก        แต่ละคนให้ชัดเจน   กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน  การประสานกิจกรรมของพนักงาน การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่·         การวางหมายกำหนดการทำงาน                      การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน·         การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน        การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร·         การกดดันพนักงาน                                             การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน·         การแก้ปัญหา การวางแผน                                การประสานงาน การให้การสนับสนุน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ  คือ 
                                1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ                         3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
                                2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง                        4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการจากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ พบว่า
1. ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
2. กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
3. ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้ พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย
เรียบเรียงจาก: สมยศ นาวีการ (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพ: บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ค่ายวิชาการกิจกรรมของกลุ่มสาระศิลปะ
            
โรงเรียนช้างบุญวิทยา ดำเนินการจัดข่ายทางด้านศิลปะ
ให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความรู้สึกที่ดี
เกี่ยวกับงานศิลปะ
เบื้องหลังความสำเร็จ

อุทิศตนนอกเวลาราชการในการฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขัน
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
การสร้างผลงานจากกระดาษมูลช้าง  โดยใช้เทคนิคสีโปสเตอร์
มอบให้มูลนิธิเพื่อการศึกษา (EDF)เข้าสู่การแข่งขันทางวิชาการ
ผลงานของนักเรียนตลอดการแข่งขัน ที่ได้ทุ่มเทจนประสบผลสำเร็จ
ชนะเลิศ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา นักเรียนและครูร่วมกันชื่นชมความสำเร็จ
และความภาคภูมิใจร่วมกัน ความพยายามจนมีวันนี้
รวมภาพผลงานทางศิลปะของนักเรียน และครูผู้ฝึกสอน

ทั้งหมดเป็นนิทรรศการ จากผลงานของนักเรียน
และโดยการฝึกสอนของนางลำยงค์  แสนมา
การแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์
ของช่วงชั้นที่ ๓ และ ๔

วันที่  15-16 สิงหาคม 2553  ณ โรงเรียนสิรินทธร จังหวัดสุรินทร์
เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่ครูให้นักเรียนได้รับ  โดยได้เรียนรู้ประสบการณ์
จากภายนอกโรงเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ในส่วนที่ยังบกพร่อง
และเป็นแรงเสริมในการมุ่งหน้าสู่ความสำเร็จต่อไป