การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท
จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ พฤติกรรมมุ่งคน (consideration) และ พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
พฤติกรรมมุ่งคน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง
เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่· การรับฟังความเห็นของพนักงาน การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน· บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน· ปรึกษาหารือกับพนักงาน ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน· เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน เป็นมิตรกับพนักงาน
จากการศึกษาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท พบว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถอธิบายได้เป็นสองมิติ คือ พฤติกรรมมุ่งคน (consideration) และ พฤติกรรมมุ่งงาน (initiating structure)
พฤติกรรมมุ่งคน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง
เคารพความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา สร้างความใกล้ชิดทางจิตใจกับผู้ตาม ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่· การรับฟังความเห็นของพนักงาน การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน· บอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า สนใจความเป็นอยู่ของพนักงาน· ปรึกษาหารือกับพนักงาน ติดต่อสื่อสารกับพนักงาน· เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของพนักงาน เป็นมิตรกับพนักงาน
พฤติกรรมมุ่งงาน คือ พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งระบุงานและความรับผิดชอบที่เจาะจงของสมาชิก แต่ละคนให้ชัดเจน กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การประสานกิจกรรมของพนักงาน การมุ่งความสำคัญของกำหนดการ มุ่งการกำกับอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้นำ ได้แก่· การวางหมายกำหนดการทำงาน การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน· การกระตุ้นให้ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน การตัดสินใจสิ่งที่ต้องทำ และทำอย่างไร· การกดดันพนักงาน การระบุบทบาทพนักงานให้ชัดเจน· การแก้ปัญหา การวางแผน การประสานงาน การให้การสนับสนุน
การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำแบบสองมิตินี้ ผู้นำอาจมีสไตล์ผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่แบบ คือ
1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ 3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง 4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
1. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนต่ำ 3. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนต่ำ
2. การมุ่งงานสูง/การมุ่งคนสูง 4. การมุ่งงานต่ำ/การมุ่งคนสูง
สรุปผลการวิจัยบางประการจากการศึกษาของ ม. โอไฮโอสเตท เกี่ยวกับมิติทั้งสองด้านของผู้นำ พบว่า
1. ผู้นำที่มีประสิทธิผล จะมีพฤติกรรมที่มุ่งเน้นทั้งสองมิติ คือ ทั้งด้านมุ่งคน และมุ่งงาน
2. กลุ่มผู้ตามมีความต้องการให้ผู้นำแสดงออกด้วยพฤติกรรมด้านมุ่งคน มากกว่า มุ่งงาน
3. ในทางกลับกันกับข้อ 2 ปรากฏว่า ผู้บังคับบัญชาของผู้นำ ต้องการให้ผู้นำใช้พฤติกรรม ด้านมุ่งงาน เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งของผู้บังคับบัญชายิ่งสูงมากยิ่งต้องการให้ผู้นำใช้ พฤติกรรมด้านมุ่งงานมากขึ้นตามไปด้วย
เรียบเรียงจาก: สมยศ นาวีการ (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพ: บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น